ฉลองมรดกโลก ได้แก่นนำจากชุมชนวัดหงส์ ร่วมสร้างสีสรรตลอดงาน

เน้นกิจกรรมสร้างสามัคคีสืบสานประเพณีก่อพระเจดีย์ทราย
13 เมษายนยูเนสโกประกาศให้สงกรานต์ประเทศไทยเป็นมรดกโลก เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามวรวิหารพระธรรมเมธี จัดงานเปิดวัดให้ญาติโยมทั้งไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระศักดิ์สิทธิ์






ประเพณีเก่าแก่ที่ยังมีชีวิต ‘ก่อเจดีย์ทราย’ ⛰️ เป็นหนึ่งในไฮไลต์แห่งเทศกาลสงกรานต์ ที่เต็มไปด้วยความสนุกและความหมายดี ๆ ไม่ใช่แค่การละเล่นหรือเฉลิมฉลองเท่านั้น แต่ยังแฝงไว้ด้วยความเชื่อทางพุทธศาสนาที่ส่งต่อกันมาหลายชั่วอายุคน
.


ลองจินตนาการถึงภูเขาทรายที่มีลวดลายสวยงาม ประดับด้วยดอกไม้ 🌺 ธงหลากสี 🚩และบางแห่งยังมีการประกวดความงามของเจดีย์ทรายอีกด้วย แต่แท้จริงแล้ว นี่เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาเพื่อ “คืนทรายให้วัด” 🛕 เพราะมีความเชื่อว่าเมื่อเราเดินเข้าออกวัด อาจเผลอเอาทรายติดเท้าออกไป การนำทรายมาก่อเป็นเจดีย์จึงเปรียบเสมือนการชดเชย และเป็นการร่วมบุญอีกทางหนึ่ง
📜 จุดเริ่มต้นของเจดีย์ทราย เล่ากันว่าในอดีต พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งเมืองสาวัตถี ได้เกิดศรัทธาแรงกล้าหลังจากฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ขณะนั้นพระองค์เห็นหาดทรายขาวสะอาด จึงก่อเป็นเจดีย์ทรายถึง 84,000 กอง ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ความเชื่อนี้จึงกลายเป็นแนวปฏิบัติที่ชาวพุทธนำมาสืบสานต่อ
ปัจจุบัน ประเพณีก่อเจดีย์ทรายไม่ได้มีแค่ในวัด 🎡 แต่กลายเป็นกิจกรรมหลักของงานสงกรานต์ทั่วประเทศ หลายพื้นที่จัดการประกวดก่อเจดีย์ทรายแบบสร้างสรรค์ เพิ่มลูกเล่นด้วยแสง สี เสียง และกิจกรรมสนุก ๆ ให้คนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วม
✨เจดีย์ทรายทั่วไทย สีสันวันสงกรานต์จากเหนือจรดใต้ ✨
🌿 ก่อเจดีย์ทรายภาคกลาง
ที่นี่เรียกกันตรงตัวว่า “ก่อเจดีย์ทราย” เน้นความสนุกสนานเต็มพิกัด นอกจากจะก่อเจดีย์แล้ว ยังมีกิจกรรมพื้นบ้านอย่าง ขบวนแห่สงกรานต์ รำวง ประกวดนางสงกรานต์ และที่พลาดไม่ได้คือ ประกวดก่อเจดีย์ทรายที่แต่ละทีมงัดฝีมือมาประชันกันสุดฤทธิ์





